ไม้ประดับอื่นๆ | Ylang-ylang Tree

First slide
QR-CODE

ชื่อวิทยาศาสตร์

Cananga odorata (Lamk.) Hook.f. et Th.

ชื่อสามัญ

Ylang-ylang Tree

ชื่ออื่น

กระดังงา (ตรัง, ยะลา), กระดังงาไทย กระดังงาใบใหญ่ กระดังงาใหญ่ (ภาคกลาง), สะบันงา สะบันงาต้น (ภาคเหนือ)

วงค์ หมวดหมู่

ANNONACEAE

ประเภทพันธ์ไม้

ไม้ประดับอื่นๆ

ชนิดของลำต้น

ไม่ระบุ

สภาพทางนิเวศน์

การขยายพันธ์

กระดังงาเป็นไม้เลื้อยที่เปลือกจะหนาขึ้นตามอายุ โดยสามารถตอนกิ่งได้แบบเดียวกับไม้ยืนต้น แต่มีโอกาสที่จะติดเชื้อโรค รา ทำให้กิ่งที่ชำได้มีความเปราะ กิ่งหักง่าย ส่วนใหญ่จึงนิยมจะขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด

การจัดเรียงตัวของใบ

เรียงสลับ

รูปร่างของใบ

รูปไข่

แบ่งชนิดของผล

ผลกลุ่ม

ประเภทของดอก

ช่อแยกแขนง

ประเภทของดอก

ช่อแยกแขนง

ประเภทของเปลือก

เปลือกไม้เรียบ

ลักษณะของใบ

ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีหรือรูปไข่ยาว ปลายแหลม โคนมนหรือเว้าและเบี้ยวเล็กน้อย ขอบเรียบหรือเป็นคลื่น ใบอ่อนมีขนทั้ง 2 ด้าน ใบแก่มักมีขนมากตามเส้นแขนงใบและเส้นกลางใบ

ลักษณะของใบ

ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีหรือรูปไข่ยาว ปลายแหลม โคนมนหรือเว้าและเบี้ยวเล็กน้อย ขอบเรียบหรือเป็นคลื่น ใบอ่อนมีขนทั้ง 2 ด้าน ใบแก่มักมีขนมากตามเส้นแขนงใบและเส้นกลางใบ

ลักษณะของผล

ผลเป็นผลกลุ่ม อยู่บนแกนตุ้มกลม 4-15 ผล แต่ละผลรูปไข่ ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเขียวคล้ำจนเกือบดำ มี 2-12 เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาลอ่อน รูปไข่แบน

ลักษณะของดอก

ช่อดอกสั้น ออกห้อยรวมกันบนกิ่งเหนือรอยแผลใบ ช่อหนึ่งๆ มี 3-6 ดอก ดอกใหญ่ กลีบเลี้ยง 3 กลีบ รูปสามเหลี่ยม มีขน กลีบดอกเรียงสลับกัน 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ แต่ละกลีบรูปขอบขนานปลายแหลม มีขน ขอบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย กลีบชั้นในแคบกว่าชั้นนอกเล็กน้อย โคนกลีบด้านในสีม่วงอมน้ำตาล ดอกอ่อนกลีบสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง กลิ่นหอม เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก เกสรเพศเมียมีหลายอัน อยู่แยกกัน

รายละเอียดของเปลือก

เปลือกต้นสีเทาเกลี้ยงหรือสีเงิน พบรอยแผลใบขนาดใหญ่อยู่ทั่วไป ส่วนที่ยังอ่อนอยู่มีขนปกคลุม

ลักษณะของต้น

เป็นไม้ยืนต้น ความสูง 8-15 เมตร เป็นพุ่มทรงโปร่ง ออกดอกตลอดปี ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีหรือรูปใบหอก กว้าง 5-7 ซม. ยาว 13-20 ซม. ขอบใบเป็นคลื่น เปลือกต้นเกลี้ยงสีเทา ดอกช่อออกเป็นกระจุก ที่ซอกใบ กระจุกละ 4-6 ดอก กลีบดอกสีเหลืองหรือเหลืองอมเขียว มีกลิ่นหอม ผลเป็นกลุ่มผล ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ตอนเช้าและเย็น โดยเริ่มออกดอกเมื่อ ปลูกได้ประมาณ 3 ปี สูง 7 - 8 เมตร จึงจะออกดอก

ประโยชน์

- เปลือกใช้ทำเชือก - ดอก นำไปกลั่นน้ำหอม น้ำมันหอมระเหย ใช้นำไปเป็นส่วนปนะกอบของยาหอม มีฤทธิ์แก้วิงเวียน โดยจัดอยู่ในส่วนประกอบของ เกสรทั้งเจ็ด ตำรายาไทย ใช้ใบและเนื้อไม้ต้มกินเป็นยาขับปัสสาวะ ผลแก่ใช้ผลสีเหลืองอมเขียวเกือบดำ นำมาบดใช้เป็นยา - คนโบราณใช้ดอกทอดกับน้ำมันมะพร้าวทำน้ำมันใส่ผม หรือ นำดอกนำมาลนไฟใช้อบขนมให้มีกลิ่นหอม[4] - กระดังงาที่สกัดด้วยเอทานอลมีประสิทธิภาพดีในการยับยั้งการเจริญของ Staphylococcus epidermidis[5]

สถานที่พบ

ส่วนป่าวิทยาลัย