ไม้ยืนต้น | Golden Fig, Weeping Fig, Weeping or Java Fig, Weeping Chinese Bonyan, Benjamin Tree, Benjamin?s fig, Ficus tree

First slide
QR-CODE

ชื่อวิทยาศาสตร์

Ficus benjamina L.

ชื่อสามัญ

Golden Fig, Weeping Fig, Weeping or Java Fig, Weeping Chinese Bonyan, Benjamin Tree, Benjamin?s fig, Ficus tree

ชื่ออื่น

ไทรพัน (ลำปาง), ไทร (นครศรีธรรมราช), ไทรกระเบื้อง (ประจวบคีรีขันธ์), ไฮ (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), ไทรย้อยใบแหลม (กรุงเทพฯ), จาเรย (เขมร), ไซรย้อย

วงค์ หมวดหมู่

MORACEAE

ประเภทพันธ์ไม้

ไม้ยืนต้น

ชนิดของลำต้น

ลำต้นเหนือดิน

สภาพทางนิเวศน์

การขยายพันธ์

ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง และวิธีการปักชำ

การจัดเรียงตัวของใบ

เรียงสลับ

รูปร่างของใบ

รูปรี

แบ่งชนิดของผล

ผลกลุ่ม

ประเภทของดอก

ช่อดอก

ประเภทของดอก

ช่อดอก

ประเภทของเปลือก

เปลือกไม้เรียบ

ลักษณะของใบ

ไทรย้อยแต่ละสายพันธุ์นั้นจะมีลักษณะของใบที่แตกต่างกันเล็กน้อย ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรีแกมรูปไข่ บางต้นลักษณะของใบเป็นรูปกลมป้อม ส่วนบางพรรณก็เป็นรูปยาวรี แต่โดยทั่วไปแล้วใบจะมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-11 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบค่อนข้างหนาเป็นสีเขียวเรียบเป็นมันเหมือนกันหมด เส้นแขนงใบมีข้างละประมาณ 6-16 เส้น ส่วนเส้นแขนงใบย่อยเรียงขนานกัน มีต่อมไขที่โคนเส้นกลางใบ ก้านยาวประมาณ 0.5-2 เซนติเมตร มีหูใบยาวประมาณ 0.5-2.8 เซนติเมตร ร่วงได้ง่าย เกลี้ยงหรือมีขนขึ้นประปราย

ลักษณะของใบ

ไทรย้อยแต่ละสายพันธุ์นั้นจะมีลักษณะของใบที่แตกต่างกันเล็กน้อย ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรีแกมรูปไข่ บางต้นลักษณะของใบเป็นรูปกลมป้อม ส่วนบางพรรณก็เป็นรูปยาวรี แต่โดยทั่วไปแล้วใบจะมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-11 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบค่อนข้างหนาเป็นสีเขียวเรียบเป็นมันเหมือนกันหมด เส้นแขนงใบมีข้างละประมาณ 6-16 เส้น ส่วนเส้นแขนงใบย่อยเรียงขนานกัน มีต่อมไขที่โคนเส้นกลางใบ ก้านยาวประมาณ 0.5-2 เซนติเมตร มีหูใบยาวประมาณ 0.5-2.8 เซนติเมตร ร่วงได้ง่าย เกลี้ยงหรือมีขนขึ้นประปราย

ลักษณะของผล

ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมหรือรี ออกผลเป็นคู่ ๆ ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.8 เซนติเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม สีน้ำตาล สีชมพู สีส้มแดง หรือสีม่วงดำเมื่อแก่ ไร้ก้าน

ลักษณะของดอก

ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกมีขนาดเล็ก เกิดภายในฐานรองดอกที่มีรูปทรงกลมคล้ายผล ออกเป็นคู่จากจ้างกิ่ง ไม่มีกลีบดอก ถ้าจะพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ช่อดอกของไทรก็คือผลที่ยังไม่สุกนั่นเอง แต่เป็นช่อดอกที่ได้รับการออกแบบมาให้ม้วนดอกทั้งหลายกลับนอกเข้าในเพื่อทำหน้าที่พิเศษ ถ้านำมาผ่าดูก็จะพบว่าข้างในกลวง ที่ผนังมีดอกขนาดเล็ก ๆ จำนวนนับร้อย ๆ ดอก ดานตรงข้ามกับขั้วผลไทรมีรูเปิดขนาดเล็กมาก และมีเกล็ดเล็ก ๆ ปิดซ้อนกันอยู่ โดยดอกไทรจะมีอยู่ด้วย 3 ประเภท คือ ดอกเพศผู้ ดอกเพศเมีย และดอกกอลล์ ซึ่งดอกกอลล์ (Gall flower) จะมีหน้าที่เป็นที่วางไข่และเลี้ยงตัวอ่อนของ ?ตัวต่อไทร? (เป็นแมลงชนิดเดียวเท่านั้นที่ช่วยผสมเกสรให้ต้นไทร)

รายละเอียดของเปลือก

เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาล กิ่งก้านห้อยย้อยลง มีลำต้นที่สูงใหญ่ ตามลำต้นจะมีราอากาศแตกย้อยลงสู่พื้นดินเป็นจำนวนมากดูสวยงาม รากอากาศเป็นรากขนาดเล็ก เป็นเส้นสีน้ำตาล ลักษณะรากกลมยาวเหมือนเส้นลวดย้อยลงมาจากต้น รากอากาศที่มีขนาดใหญ่จะมีเนื้อไม้ด้วย มีรสจืดและฝาด

ลักษณะของต้น

จัดเป็นไม้ยืนต้นหรือพุ่มไม่ผลัดใบขนาดกลาง ที่มีความสูงได้ประมาณ 5-15 เมตร ลำต้นแตกเป็นพุ่มหนาทึบและแผ่กิ่งก้านสาขาทิ้งใบห้อยย้อยลง

ประโยชน์

รากไทรย้อยมีสรรพคุณเป็นยาแก้กาฬโลหิต (รากอากาศ) รากอากาศมีสรรพคุณบำรุงโลหิต แก้ตกโลหิต (รากอากาศ) รากใช้เป็นยาแก้กระษัย (อาการป่วยที่เกิดจากหลายสาเหตุ ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม ซูบผอม ปวดเมื่อย โลหิตจาง) (รากอากาศ) รากนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาบำรุงน้ำนมให้สมบูรณ์ (รากอากาศ)

สถานที่พบ

ส่วนป่าวิทยาลัย