ไม้ยืนต้น | -

First slide
QR-CODE

ชื่อวิทยาศาสตร์

Lagerstroemia calyculata Kurz

ชื่อสามัญ

-

ชื่ออื่น

แลนไห้ (เชียงใหม่), ตะแบกขาวใหญ่ (ปราจีนบุรี), ตะแบกใหญ่ (ราชบุรี,นครราชสีมา), เปลือยดง (นครราชสีมา), ตะแบกหนัง (จันทบุรี), เปลือย (สุโขทัย,พิษณุโลก), ตะแบกแดง (ประจวบคีรีขันธ์), อ้าย (สุราษฎร์ธานี),

วงค์ หมวดหมู่

LYTHRACEAE

ประเภทพันธ์ไม้

ไม้ยืนต้น

ชนิดของลำต้น

ลำต้นเหนือดิน

สภาพทางนิเวศน์

การขยายพันธ์

การเพาะเมล็ด

การจัดเรียงตัวของใบ

เรียงสลับ

รูปร่างของใบ

รูปใบหอก

แบ่งชนิดของผล

ผลกลุ่ม

ประเภทของดอก

ดอกสมบูรณ์เพศ

ประเภทของดอก

ดอกสมบูรณ์เพศ

ประเภทของเปลือก

เปลือกไม้ร่อง

ลักษณะของใบ

ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน บางทีออกเรียงเกือบตรงข้าม ลักษณะของใบเป็นรูปไข่หรือรูปขอบขนานแกมรูปหอก เห็นตาง่ามชัดเจน ใบมีขนาดเล็กกว่าใบอินทนิลน้ำ (ขนาด 2 ใน 3 ส่วน) ปลายใบทู่ โคนใบทู่หรือกลม ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-14 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียว หลังใบเกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง ส่วนท้องใบมีขนสีน้ำตาลสาก ๆ ขึ้นหนาแน่น ตะแบกเป็นไม้กึ่งผลัดใบ ซึ่งจะผลัดใบหรือไม่ผลัดใบก็ได้ แต่ถ้าผลัดใบก็จะผลัดใบในช่วงประมาณเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคม และจะแตกใบใหม่ในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม

ลักษณะของใบ

ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน บางทีออกเรียงเกือบตรงข้าม ลักษณะของใบเป็นรูปไข่หรือรูปขอบขนานแกมรูปหอก เห็นตาง่ามชัดเจน ใบมีขนาดเล็กกว่าใบอินทนิลน้ำ (ขนาด 2 ใน 3 ส่วน) ปลายใบทู่ โคนใบทู่หรือกลม ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-14 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียว หลังใบเกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง ส่วนท้องใบมีขนสีน้ำตาลสาก ๆ ขึ้นหนาแน่น ตะแบกเป็นไม้กึ่งผลัดใบ ซึ่งจะผลัดใบหรือไม่ผลัดใบก็ได้ แต่ถ้าผลัดใบก็จะผลัดใบในช่วงประมาณเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคม และจะแตกใบใหม่ในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม

ลักษณะของผล

เมื่อดอกร่วงจะติดผล ผลตะแบกจะเป็นผลแห้งที่เมื่อแก่แล้วจะแห้งแตกออกเป็น 6 แฉก ถ้วยกลีบเลี้ยงจะหุ้มโคนของผลเช่นเดียวกับอินทนิลน้ำและอินทนิลบก ผลมีขนาดเล็ก ลักษณะของผลเป็นรูปไข่ ยาวประมาณ 0.8-1 เซนติเมตร ผลแก่เป็นสีน้ำตาล แข็ง เมื่อแก่จะแตก ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก มีปีก เมล็ดเป็นสีน้ำตาลเข้ม ผลตะแบกจะเริ่มแก่ในช่วงประมาณเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม เมล็ดจะร่วงหล่นเมื่อเปลือกผลแตกและอ้า

ลักษณะของดอก

ออกดอกเป็นช่อแบบเป็นกลุ่มย่อย ออกเป็นช่อโต ๆ ตามปลากิ่ง ตามส่วนต่าง ๆ จะมีขนสาก ๆ ขึ้นทั่วไป ดอกจะมีขนาดเล็ก เมื่อบานเต็มที่จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5-1.5 เซนติเมตร ดอกมีกลีบดอก 6 กลีบ แยกจากกันเป็นอิสระ โคนกลีบติดกับผนังด้านในของถ้วยกลีบเลี้ยง โคนกลีบดอกแคบ ส่วนปลายกลีบจะเป็นแผ่นกลม ๆ สีขาวหรือสีม่วงอมชมพูอ่อน ๆ ส่วนกลีบเลี้ยงมี 6 กลีบ โคนกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกออกเป็น 6 แฉก (เรียกว่า ?ถ้วยกลีบเลี้ยง?) มีขนสีสนิมขึ้นปกคลุม ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวนมาก ขนาดไร่เรี่ยกัน ออกดอกในช่วงฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม เวลาดอกบานต้นทั้งต้นจะมีอยู่ 2 สี ดูสวยงามมาก

รายละเอียดของเปลือก

เปลือกลำต้นเกลี้ยงเป็นสีเทาอมเหลือง หรือสีน้ำตาลอมเทา มีรอยขรุขระเป็นหลุมตื้น ๆ เกิดจากสะเก็ดแผ่นบาง ๆ ของเปลือกที่หลุดร่วงไป ดูคล้ายกับเปลือกต้นฝรั่ง แต่จะมีจุดด่างขาว ๆ อยู่ตามลำต้น ทางตอนบนของลำต้นจะค่อนข้างเรียบ ส่วนเปลือกชั้นในเป็นสีชมพูอมม่วง ซ้อนกันเป็นชั้น ๆ สลับกับชั้นลายเส้นสีขาว โคนต้นเป็นพูพอนชัดเจน ตรงส่วนที่เป็นพูพอนมักจะกลวงขึ้นไปประมาณ 3-5 เมตรจากผิวดิน

ลักษณะของต้น

จัดเป็นไม้ประดับ และไม้มงคล เนื่องจาก ช่อดอกมีขนาดใหญ่ ดอกมีสีม่วงอมชมพู เมื่อดอกบานแลดูสวยงาม ลำต้นมีทรงพุ่มใหญ่ ให้ร่มเงาดี จึงนิยมปลูกตามสถานที่ราชการต่างๆ รวมถึงมีความเชื่อว่าเป็นไม้ที่ช่วยค้ำจุนครอบครัวให้ร่มเย็นเป็นสุข ดั่งคำเรียกว่า ตะแบก คือ การแบกรับไม่ให้ตกต่ำ

ประโยชน์

สรรพคุณของตะแบก 1.เปลือกมีสรรพคุณเป็นยาแก้ลงแดง (เปลือก) 2.เปลือกใช้ปรุงเป็นยาแก้บิด และมูกเลือด (เปลือก) 3.ขอนดอกมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงปอด บำรุงตับ บำรุงทารกครรภ์ (ขอนดอก) 4.ใช้เป็นยาแก้ลมกองละเอียด ได้แก่ อาการหน้ามืด ตาลาย สวิงสวาย ใจสั่น บำรุงดวงจิตให้ชุ่มชื่น (ขอนดอก) 5.ใช้เป็นยาแก้ไข้ร้อนเพื่อตรีโทษ แก้เหงื่อ แก้เสมหะ (ขอนดอก) 6.ในบัญชียาจากสมุนไพร มีปรากฏการใช้ขอนดอกในกลุ่มยารักษาอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) ซึ่งมีส่วนประกอบของขอนดอก ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ ในตำรับ ได้แก่ ตำรับ ?ยาหอมเทพจิตร? ที่มีสรรพคุณเป็นยาแก้ลมกองละเอียด (อาการหน้ามืด ตาลาย สวิงสวาย ใจสั่น บำรุงดวงจิตให้ชุ่มชื่น) และตำรับ ?ยาหอมนวโกฐ? ที่มีสรรพคุณในการแก้ลมวิงเวียน คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมจุกแน่นในอก ในผู้สูงอายุ แก้ลมปลายไข้ (อาการหลังจากการฟื้นไข้แล้วยังมีอาการคลื่นเหียน วิงเวียน เบื่ออาหาร ท้องอืด อ่อนเพลีย) (ขอนดอก)[3] 7.ตำราพระโอสถพระนารายณ์มีปรากฏการใช้ขอนดอกร่วมกับสมุนไพรอื่น ๆ อีก 15 ชนิด อย่างละเท่ากัน นำมาบดให้ละ

สถานที่พบ

ส่วนป่าวิทยาลัย