ไม้พุ่มรอเลื้อย | -

First slide
QR-CODE

ชื่อวิทยาศาสตร์

Salacia chinensis L.

ชื่อสามัญ

-

ชื่ออื่น

ตะลุ่มนก (ราชบุรี) ตาไก้ (พิษณุโลก) น้ำนอง มะต่อมไก่ (เหนือ) หลุมนก (ใต้) ขอบกระด้ง พรองนก (อ่างทอง); ขาวไก่, เครือตากวาง, ตากวาง, ตาไก่ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); กระดุมนก (ประจวบคีรีขันธ์); กลุมนก

วงค์ หมวดหมู่

CELASTRACEAE

ประเภทพันธ์ไม้

ไม้พุ่มรอเลื้อย

ชนิดของลำต้น

ลำต้นเหนือดิน

สภาพทางนิเวศน์

การขยายพันธ์

การเพาะเมล็ด

การจัดเรียงตัวของใบ

เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก

รูปร่างของใบ

รูปรี

แบ่งชนิดของผล

ผลเดี่ยว

ประเภทของดอก

ช่อดอก

ประเภทของดอก

ช่อดอก

ประเภทของเปลือก

เปลือกไม้เรียบ

ลักษณะของใบ

ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม สลับตั้งฉาก แผ่นใบค่อนข้างหนา แผ่นใบรูปวงรี รูปวงรีกว้าง รูปไข่ รูปวงรีแกมใบหอก หรือรูปไข่กลับ กว้าง 2-4 เซนติเมตร ยาว 4-8 เซนติเมตร ปลายแหลมหรือมน โคนใบสอบ ขอบหยักหยาบๆ หลังใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม ท้องใบเรียบ เนื้อใบกรอบ ก้านใบยาว 0.6-1.5 เซนติเมตร ผิวใบด้านบนและด้านล่างค่อนข้างหนาเป็นมัน เส้นแขนงใบ 4-10 คู่

ลักษณะของใบ

ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม สลับตั้งฉาก แผ่นใบค่อนข้างหนา แผ่นใบรูปวงรี รูปวงรีกว้าง รูปไข่ รูปวงรีแกมใบหอก หรือรูปไข่กลับ กว้าง 2-4 เซนติเมตร ยาว 4-8 เซนติเมตร ปลายแหลมหรือมน โคนใบสอบ ขอบหยักหยาบๆ หลังใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม ท้องใบเรียบ เนื้อใบกรอบ ก้านใบยาว 0.6-1.5 เซนติเมตร ผิวใบด้านบนและด้านล่างค่อนข้างหนาเป็นมัน เส้นแขนงใบ 4-10 คู่

ลักษณะของผล

ผลสด รูปร่างค่อนข้างกลม ผิวผลเกลี้ยง รูปกระสวยกว้าง หรือรี ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีแดงหรือสีแดงอมส้ม ภายในมีเมล็ดกลมขนาดใกล้เคียงกับผล 1 เมล็ด

ลักษณะของดอก

ดอกเล็ก สีเขียวอมเหลืองหรือเหลือง ออกเป็นช่อ แบบกระจุกหรือช่อแยกแขนงสั้นๆ ตามซอกใบ มีกลีบดอก 5 กลีบ สีเหลืองปนเขียว ออกเป็นกลุ่มหรือช่อสั้นๆ ที่ซอกใบ หรือกิ่งก้าน ปลายกลีบดอกมนบิดเล็กน้อย แกนดอกนูนเป็นวงกลม มี 3-6 ดอกในแต่ละช่อ กลีบดอกรูปรีหรือรูปไข่กว้าง ยาว 3-4 มิลลิเมตร ก้านดอกยาว 6-10 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงเล็กมากมี 5 กลีบ กลีบเลี้ยงรูปสามเหลี่ยม ปลายมนกลม ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ขอบเป็นชายครุย จานฐานดอกรูปถ้วยคล้ายเป็นถุง มีปุ่มเล็กๆ ตามขอบ เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-2 มิลลิเมตร เกสรเพศผู้ 3 อัน ติดบนขอบจานฐานดอก ก้านเกสรเพศผู้สั้น อับเรณูรูปส้อม ปลายเกสรชนกันเป็นยอดแหลม รังไข่มี 3 ช่อง ซ่อนอยู่ในจานฐานดอก ออวุลมี 2 เม็ด ในแต่ละช่อง ก้านเกสรเพศเมียสั้น

รายละเอียดของเปลือก

ปลือกลำต้นเรียบสีเทานวล เนื้อไม้มีวงปีสีน้ำตาลแดงเข้มจำนวนหลายชั้นเห็นชัดเจน เรียงซ้อนกันเป็นชั้น 7-9 ชั้น

ลักษณะของต้น

ไม้พุ่มรอเลื้อย สูง 2-6 เมตร

ประโยชน์

ใช้ ต้น รสเมาเบื่อฝาดสุขุม ต้มน้ำดื่ม หรือดองสุรา แก้ปวดเมื่อย หรือเข้ายาระบาย (ผสมกับรากตูมกาขาว รากชะมวง และรากปอด่อน) บำรุงโลหิต ฟอกโลหิต แก้โลหิตเป็นพิษทำให้ร้อน บำรุงโลหิต แก้โลหิตจาง แก้ผอมแห้งแรงน้อย ขับระดูขาว แก้ปวดตามข้อ แก้ไขข้อพิการ เข้าข้อ แก้ประดง ขับผายลม ฟอกและขับเลือดระดู รักษาโรคตับอักเสบ (ผสมกับเปลือกต้นมะดูก)

สถานที่พบ

ส่วนป่าวิทยาลัย