ไม้เลื้อย | -

First slide
QR-CODE

ชื่อวิทยาศาสตร์

Stephania pierrei Diels

ชื่อสามัญ

-

ชื่ออื่น

บัวเครือ (เพชรบูรณ์), บัวกือ (เชียงใหม่, เพชรบุรี), บัวบก (กาญจนบุรี, นครราชสีมา), เปล้าเลือดเครือ (ภาคเหนือ), โกฐหัวบัว (ภาคกลาง), พุ่งเหมาด้อย (เมี่ยน)

วงค์ หมวดหมู่

MENISPERMACEAE

ประเภทพันธ์ไม้

ไม้เลื้อย

ชนิดของลำต้น

ลำต้นเหนือดิน

สภาพทางนิเวศน์

การขยายพันธ์

ใช้เมล็ดและส่วนของรากที่คล้ายหัว

การจัดเรียงตัวของใบ

เรียงสลับ

รูปร่างของใบ

รูปวงกลม

แบ่งชนิดของผล

ผลเดี่ยว

ประเภทของดอก

ช่อดอก

ประเภทของดอก

ช่อดอก

ประเภทของเปลือก

ไม่มี

ลักษณะของใบ

มีใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกัน ใบมีลักษณะเป็นรูปเกือบกลม หรือเป็นรูปกลมคล้ายใบบัว แต่จะมีขนาดเล็กกว่า ใบมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3-6 เซนติเมตร บางครั้งมีติ่งหนามที่ปลาย เนื้อใบบางคล้ายกระดาษแต่แข็ง มีเส้นใบออกจากโคนใบเป็นรูปฝ่ามือ เส้นใบเป็นร่างแหค่อนข้างทั้งสองด้าน มีก้านใบติดอยู่ที่กลางแผ่น ก้านใบยาวประมาณ 2-3.5 เซนติเมตร

ลักษณะของใบ

มีใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกัน ใบมีลักษณะเป็นรูปเกือบกลม หรือเป็นรูปกลมคล้ายใบบัว แต่จะมีขนาดเล็กกว่า ใบมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3-6 เซนติเมตร บางครั้งมีติ่งหนามที่ปลาย เนื้อใบบางคล้ายกระดาษแต่แข็ง มีเส้นใบออกจากโคนใบเป็นรูปฝ่ามือ เส้นใบเป็นร่างแหค่อนข้างทั้งสองด้าน มีก้านใบติดอยู่ที่กลางแผ่น ก้านใบยาวประมาณ 2-3.5 เซนติเมตร

ลักษณะของผล

ผลเป็นแบบมีเมล็ดเดียวแข็ง มีลักษณะเป็นรูปทรงกลมหรือค่อนข้างเป็นรูปไข่กลับ มีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวประมาณ 7-8 มิลลิเมตร ผนังของผลชั้นในจะมีรูเล็ก ๆ ตรงกลาง ด้านบนมีตุ่มเรียงกันเป็น 4 แถว โค้ง และมีทั้งหมดประมาณ 16-19 ตุ่ม

ลักษณะของดอก

ออกดอกเป็นช่อแบบกระจุกตามซอกใบหรือง่ามใบ ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ก้านช่อดอกเรียวเล็ก ยาวประมาณ 7-8 มิลลิเมตร ดอกเป็นแบบแยกเพศ ดอกเพศผู้มีก้านดอกยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ดอกมีกลีบเลี้ยง 4-5 กลีบ เป็นรูปขอบขนานหรือรูปไข่กลับ มีสีเหลือง เนื้อกลีบนุ่ม มักมีขนาดไม่เท่ากัน กลีบเลี้ยงยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้เชื่อมติดกัน ไม่มีก้านหรือติดบนก้าน ยาวประมาณ 0.5 มิลลิเมตร

รายละเอียดของเปลือก

ไม่มี

ลักษณะของต้น

จัดเป็นไม้ล้มลุกหรือไม้พุ่ม มีหัวขนาดใหญ่อยู่ใต้ดิน ลักษณะกลมแป้น เปลือกของหัวมีสีน้ำตาล ส่วนเนื้อในหัวมีสีขาวนวล มีรสชาติมันและเฝื่อนเล็กน้อย โดยลำต้นจะแทงขึ้นจากหัว โค้งงอลงสู่พื้นดิน เป็นไม้กึ่งเลื้อยทอดยาวได้ประมาณ 3-5 เมตร

ประโยชน์

ต้น กระจายลมที่แน่นในอก ใบ บำรุงธาตุไฟ ใส่บาดแผลสดและเรื้อรัง ดอก ฆ่าเชื้อโรคเรื้อน ทำให้อุจจาระละเอียด เถา ขับโลหิตระดู ขับพยาธิในลำไส้ หัว, ก้าน แก้เสมหะเบื้องบน ทำให้เกิดกำลัง บำรุงกำหนัด ราก บำรุงเส้นประสาท

สถานที่พบ

ส่วนป่าวิทยาลัย