ไม้ล้มลุก | -

First slide
QR-CODE

ชื่อวิทยาศาสตร์

Molineria latifolia Herb. ex Kurz

ชื่อสามัญ

-

ชื่ออื่น

จ๊าลาน มะพร้าวนกคุ่ม (เชียงใหม่) พร้าวนก พร้าวนกคุ่ม (นครศรีธรรมราช) ละโมยอ (มาลายู-นราธิวาส)

วงค์ หมวดหมู่

ยังไม่จัดหมวด

ประเภทพันธ์ไม้

ไม้ล้มลุก

ชนิดของลำต้น

ลำต้นเหนือดิน

สภาพทางนิเวศน์

การขยายพันธ์

ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ และใช้เมล็ด

การจัดเรียงตัวของใบ

เรียงสลับ

รูปร่างของใบ

รูปรี

แบ่งชนิดของผล

ผลกลุ่ม

ประเภทของดอก

ช่อดอก

ประเภทของดอก

ช่อดอก

ประเภทของเปลือก

ไม่มี

ลักษณะของใบ

ใบออกเรียงสลับติดกันที่โคนต้น ลักษณะของใบเป็นรูปยาวรีหรือรูปขอบขนานแกมรูปหอก แผ่นใบพับเป็นร่อง ๆ ตามยาวคล้ายกับใบปาล์ม ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบเป็นสีเขียวเข้ม ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3.5-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 20-70 เซนติเมตร มีก้านใบยาวประมาณ 25-30 เซนติเมตร โคนแผ่กว้างหุ้มกับลำต้น

ลักษณะของใบ

ใบออกเรียงสลับติดกันที่โคนต้น ลักษณะของใบเป็นรูปยาวรีหรือรูปขอบขนานแกมรูปหอก แผ่นใบพับเป็นร่อง ๆ ตามยาวคล้ายกับใบปาล์ม ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบเป็นสีเขียวเข้ม ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3.5-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 20-70 เซนติเมตร มีก้านใบยาวประมาณ 25-30 เซนติเมตร โคนแผ่กว้างหุ้มกับลำต้น

ลักษณะของผล

ผลมีลักษณะกลมมีสีเหลืองอมเขียวอ่อน ส่วนผลแก่เป็นสีขาวถึงแดง มีขนาดยาวประมาณ 4-5 เซนติเมตร ส่วนที่ด้านขั้วป่องออก มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร และค่อย ๆ เรียวไปทางปลายผล[3] ผลมีรสหวานถ้ากินน้ำหลังจากกินผลไม้นี้แล้ว จะทำให้สึกว่าน้ำมีรสหวานชุ่มคอดี

ลักษณะของดอก

ดอกออกเป็นช่อแทงขึ้นมาจากหัวใต้ดิน ดอกมีกลีบ 6 กลีบ สีเหลือง โคนดอกเชื่อมติดกัน ดอกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร ดอกออกรวมกันแน่น ลักษณะเป็นช่อรูปทรงกระบอกปลายแหลม มีขนาดกว้างประมาณ 4-5 เซนติเมตร และยาวได้ประมาณ 5-7 เซนติเมตร

รายละเอียดของเปลือก

ไม่มี

ลักษณะของต้น

จัดเป็นพรรณไม้เตี้ยหรือไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี ลักษณะคล้ายกับพืชจำพวกปาล์ม มีความสูงประมาณ 30-40 เซนติเมตร ลำต้นเหนือดินมีลักษณะกลมชุ่มน้ำ มีหัวคล้ายรากแทงลึกลงไปในดินประมาณ 10-30 เซนติเมตร ตรงหัวจะมีรากเล็ก ๆ ลึกลงไปในดินอีกรากหนึ่ง ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับสากตำข้าว หรือเป็นรูปไข่กลมรี

ประโยชน์

ราก รับประทานเป็นยาชักมดลูก เช่น คลอดบุตรใหม่ๆ มดลูกลอย เพราะความอักเสบ เนื่องจากความเคลื่อนไหวของมดลูกจากที่เดิมให้เป็นปกติ

สถานที่พบ

ส่วนป่าวิทยาลัย