ไม้ประดับอื่นๆ | Fishtail Palm, Wart Fishtail Palm

First slide
QR-CODE

ชื่อวิทยาศาสตร์

Caryota mitis Lour.

ชื่อสามัญ

Fishtail Palm, Wart Fishtail Palm

ชื่ออื่น

เต่าร้างแดง เชื่องหมู่ มะเด็ง งือเด็ง

วงค์ หมวดหมู่

ยังไม่จัดหมวด

ประเภทพันธ์ไม้

ไม้ประดับอื่นๆ

ชนิดของลำต้น

ลำต้นเหนือดิน

สภาพทางนิเวศน์

การขยายพันธ์

เพาะเมล็ด หรือ แยกหน่อ

การจัดเรียงตัวของใบ

เรียงเวียนสลับ

รูปร่างของใบ

รูปคล้ายสามเหลี่ยม

แบ่งชนิดของผล

ผลกลุ่ม

ประเภทของดอก

ช่อดอก

ประเภทของดอก

ช่อดอก

ประเภทของเปลือก

ไม่มี

ลักษณะของใบ

ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ออกเรียงเวียนสลับรอบลำต้น ช่อใบมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมกว้าง แผ่แบน แตกแขนงออกเป็นช่อใบย่อยข้างละ 7-23 ช่อ ยาวประมาณ 50-100 เซนติเมตร ใบย่อยมีลักษณะพับเป็นจีบคล้ายรูปตัววี แผ่นใบมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมหยักเว้า ปลายใบแหลมคล้ายหางปลา โคนใบเป็นรูปลิ่ม แผ่นใบเป็นสีเขียวเป็นมัน มีขนาดกว้างประมาณ 13 เซนติเมตร และยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร ใบย่อยคู่สุดท้ายมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด มักติดกันและมีขนาดใหญ่ ปลายใบหยักไม่สม่ำเสมอ โคนใบเป็นรูปลิ่มเยื้อง ส่วนขอบใบเรียบ ผิวใบเรียบเกลี้ยงทั้งสองด้าน มีกาบใบโอบรอบลำต้นยาวประมาณ 0.5-2 เมตร โคนกาบใบมีขนสีน้ำตาลแดงปนเทาหรือสีดำ และมีรยางค์สีน้ำตาลขึ้นปกคลุม

ลักษณะของใบ

ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ออกเรียงเวียนสลับรอบลำต้น ช่อใบมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมกว้าง แผ่แบน แตกแขนงออกเป็นช่อใบย่อยข้างละ 7-23 ช่อ ยาวประมาณ 50-100 เซนติเมตร ใบย่อยมีลักษณะพับเป็นจีบคล้ายรูปตัววี แผ่นใบมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมหยักเว้า ปลายใบแหลมคล้ายหางปลา โคนใบเป็นรูปลิ่ม แผ่นใบเป็นสีเขียวเป็นมัน มีขนาดกว้างประมาณ 13 เซนติเมตร และยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร ใบย่อยคู่สุดท้ายมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด มักติดกันและมีขนาดใหญ่ ปลายใบหยักไม่สม่ำเสมอ โคนใบเป็นรูปลิ่มเยื้อง ส่วนขอบใบเรียบ ผิวใบเรียบเกลี้ยงทั้งสองด้าน มีกาบใบโอบรอบลำต้นยาวประมาณ 0.5-2 เมตร โคนกาบใบมีขนสีน้ำตาลแดงปนเทาหรือสีดำ และมีรยางค์สีน้ำตาลขึ้นปกคลุม

ลักษณะของผล

ผลเป็นสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียว สีเขียวแกมเหลือง ออกเป็นพวง ๆ ลักษณะเป็นรูปทรงกลมหรือกลมแป้น มีขนาดประมาณ 1-2 เซนติเมตร เนื้อผลชุ่มไปด้วยน้ำเลี้ยง ซึ่งเป็นพิษและทำให้ระคายเคือง ผลเมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีส้มหรือสีแดงเข้มถึงสีม่วงคล้ำหรือดำ ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด

ลักษณะของดอก

ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่ร่วมต้นกัน โดยจะออกดอกเป็นช่อเชิงลดไม่มีก้าน ช่อดอกยาวประมาณ 60-80 เซนติเมตร ก้านช่อดอกอวบ ห่อหุ้มไปด้วยกาบสีเขียวขนาดใหญ่ ออกเป็นช่อแยกแขนงที่ปลายยอด ต่อมาจะออกตามซอกใบ แล้วไล่ลงมาถึงโคนต้น ช่อดอกมีลักษณะย่อยห้อยลงมา ออกดอกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3 ดอก เรียงเวียนสลับกับแกนช่อดอกย่อย โดยดอกเพศผู้จะเป็นสีเขียวอ่อนไม่มีก้าน ดอกมีลักษณะตูมเป็นรูปทรงขอบขนาน เมื่อดอกบานจะเป็นสีเหลืองนวล กลีบดอกแข็งมี 3 กลีบ ลักษณะเป็นรูปขอบขนาน ปลายแหลมโค้ง ส่วนดอกเพศเมียจะเป็นสีเขียวอ่อน มีกลีบดอก 3 กลีบ ที่โคนกลีบเชื่อมติดกัน ดอกที่บานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร

รายละเอียดของเปลือก

ไม่มี

ลักษณะของต้น

สำหรับต้นเต่าร้างนั้นเป็นพืชในตระกูลปาล์มต้นเดี่ยว มีหน่อ และแตกกอขนาดใหญ่ ไม่มีหนาม โดยมีความสูงของลำต้นประมาณ 10 ? 15 เมตร ส่วนใบนั้นจะเป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น ออกแบบเรียงสลับกัน โดยบริเวณปลายใบนั้นจะแหลม ส่วนโคนเป็นรูปลิ่ม มีสีเขียว และดอกของต้นเต่าร้างนั้นจะมีสีขาวแกมเหลืองโดยออกดอกเป็นช่อ เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีความกว้างอยู่ที่ 2 เซนติเมตร สำหรับผลของเต่าร้างจะเป็นผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียว ออกผลเป็นพวง รูปทรงกลม ส่วนผลที่สุกแล้วจะมีสีแดงคล้ำ สามารถรับประทานได้ แต่ต้องระวังอย่าให้โดนยางของต้นเต่าร้างเข้า

ประโยชน์

ราก หัว ช่วยแก้อาการช้ำใน แก้ตับทรุด แก้ม้ามพิการ รวมทั้งแก้โรคหัวใจพิการ แก้กาฬขึ้นปอด และช่วยดับพิษดับปอด ให้รสหวานเย็นขมนอกจากนี้ยังนำประโยชน์จากไม้ของต้นเต่าร้างนั้นมาทำการก่อสร้างหรือเครื่องมือการเกษตรต่างๆ รวมทั้งนำมาปลูกเป็นไม้ประดับเพื่อความสวยงาม และนำมาประกอบเป็นอาหารรับประทาน แต่ทั้งนี้ควรระวังยางของต้นเต่าร้างให้ดี เพราะหากโดนเข้าจะคัน เกิดผื่นแดง โดยเฉพาะหากโดนตาจะทำให้ตาบอดได้เลยทีเดียว อันตรายจริง

สถานที่พบ

ส่วนป่าวิทยาลัย