ไม้ยืนต้น | Bilimbi

First slide
QR-CODE

ชื่อวิทยาศาสตร์

Averrhoa bilimbi L.

ชื่อสามัญ

Bilimbi

ชื่ออื่น

ภาคกลาง และทั่วไป ตะลิงปลิง (ทุกภาค) ภาคใต้ มูงมัง กะลิงปริง ลิงปลิง ปลีมิง เฟืองเทศ มะเฟืองตรน

วงค์ หมวดหมู่

OXALIDACEAE

ประเภทพันธ์ไม้

ไม้ยืนต้น

ชนิดของลำต้น

ลำต้นเหนือดิน

สภาพทางนิเวศน์

การขยายพันธ์

การเพาะเมล็ด และ การตอนกิ่ง

การจัดเรียงตัวของใบ

เรียงสลับระนาบเดียว

รูปร่างของใบ

รูปใบหอก

แบ่งชนิดของผล

ผลกลุ่ม

ประเภทของดอก

ช่อดอก

ประเภทของดอก

ช่อดอก

ประเภทของเปลือก

เปลือกไม้เรียบ

ลักษณะของใบ

ตะลิงปลิง เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ ใบเป็นใบประกอบชนิดใบเดี่ยว (มีใบหลายใยบนก้านใบหลักเดียวกัน และใบสุดท้ายมีใบเดียว) ประกอบด้วยก้านใบหลักที่แตกออกบริเวณส่วนปลายของกิ่ง ยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร ก้านใบหลักประกอบด้วยใบย่อยเรียงซ้อนกันเป็นคู่ๆ ประมาณ 15-25 คู่ ใบอ่อนมีสีส้มแดง เมื่อใบอายุมากจะมีสีเขียวสด และเป็นมันเล็กน้อยใบย่อยบนก้านใบหลักมีรูปปลายหอก คล้ายกับใบมะยม แต่ใบตะลิงปลิงจะยาวกว่าเล็กน้อย มีก้านใบยาว 3-5 มิลลิเมตร ใบมีส่วนโคนใบใหญ่ ปลายใบแหลม ขนาดกว้างประมาณ 2.5-3.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 4-5 เซนติเมตร แผ่นใบ และขอบใบเรียบ เส้นใบมีขนสีเหลืองปกคลุม

ลักษณะของใบ

ตะลิงปลิง เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ ใบเป็นใบประกอบชนิดใบเดี่ยว (มีใบหลายใยบนก้านใบหลักเดียวกัน และใบสุดท้ายมีใบเดียว) ประกอบด้วยก้านใบหลักที่แตกออกบริเวณส่วนปลายของกิ่ง ยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร ก้านใบหลักประกอบด้วยใบย่อยเรียงซ้อนกันเป็นคู่ๆ ประมาณ 15-25 คู่ ใบอ่อนมีสีส้มแดง เมื่อใบอายุมากจะมีสีเขียวสด และเป็นมันเล็กน้อยใบย่อยบนก้านใบหลักมีรูปปลายหอก คล้ายกับใบมะยม แต่ใบตะลิงปลิงจะยาวกว่าเล็กน้อย มีก้านใบยาว 3-5 มิลลิเมตร ใบมีส่วนโคนใบใหญ่ ปลายใบแหลม ขนาดกว้างประมาณ 2.5-3.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 4-5 เซนติเมตร แผ่นใบ และขอบใบเรียบ เส้นใบมีขนสีเหลืองปกคลุม

ลักษณะของผล

ผลตะลิงปลิงมีลักษณะทรงกระบอก และค่อนข้างเป็นเหลี่ยม และมีร่องตื้นที่ผล 5 ร่อง ขั้วผล และก้นผลมีลักษณะมน กว้างประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 4-8 เซนติเมตร ผลที่โคนช่อมีขนาดเล็กกว่าผลที่ปลายช่อ ผลอ่อนมีผิวด้านนอกเป็นสีเขียวสด เนื้อผลด้านในมีสีเขียวอ่อนอมขาว ผลสุกมีสีผล และเนื้อผลค่อนข้างเหลือง ถัดมาตรงกลางเป็นที่อยู่ของเมล็ด 1-2 เมล็ดผลอ่อนตะลิงปลิงสามารถรับประทานได้ทุกส่วน แต่ผลแก่จะมีเมล็ดแข็ง และค่อนข้างขมจะต้องแยกออก เนื้อผลให้รสเปรี้ยวจัดพอๆกับมะม่วงหาวมะนาวโห่ หรือ มะยม เมล็ดตะลิงปลิงมีสีน้ำตาล เมล็ดมีรูปทรงกระบอก และแบน ขนาด 2.5-4.5 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร

ลักษณะของดอก

ดอกตะลิงปลิงแทงออกเป็นช่อ ออกเป็นกระจุกหลายช่อตามลำต้น และโคนกิ่ง แต่ละจุดจะมีช่อดอก 2 ? 10 ช่อ ช่อดอกมีก้านดอกสีน้ำตาลอมม่วง ยาว 5-15 เซนติเมตร ส่วนปลายช่อมีดอก 2-10 ดอกตัวดอกประกอบด้วยกลีบเลี้ยงจำนวน 5 กลีบ และกลีบดอก 5 กลีบ กลีบเลี้ยงมีสีแดงเรื่อ ส่วนกลีบดอกมีสีแดงอมม่วง ทั้งนี้ ดอกตูมตะลิงปลิงอ่อนจะมีสีเขียวอ่อน และเมื่อใกล้บานจะมีสีม่วงเข้ม เมื่อดอกบานออกจะมีสีกลีบดอกเป็นสีแดงอมม่วง

รายละเอียดของเปลือก

เปลือกลำต้นสีน้ำตาล ผิวเปลือกค่อนข้างเรียบ

ลักษณะของต้น

ตะลิงปลิงเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ลำต้นสูงประมาณ 3-8 เมตร กิ่งหลักมีน้อย กิ่งแขนงมีมาก และมีกานใบยาว ใบดก ทำให้มีทรงพุ่มค่อนข้างหนา โดยลำต้นมีลักษณะคล้ายต้นมะยม และมีขนาดใกล้เคียงกัน ส่วนเนื้อไม้มีความแข็งน้อย ส่วนกิ่งค่อนข้างเปราะ และหักง่าย จึงไม่ค่อยนิยมเก็บผลด้วยวิธีการปีนต้น เพราะอาจทำให้กิ่งหัก และร่วงต้นตะลิงปลิงได้

ประโยชน์

ราก สรรพคุณแก้พิษร้อนใน กระหายน้ำ ฝาดสมาน บำรุงกระเพาะอาหาร แก้โลหิตออกตามกระเพาะอาหาร ลำไส้ ดับพิษร้อนของไข้ แก้ริดสีดวงทวาร แก้คัน แก้คางทูม แก้ไขข้ออักเสบ รักษาสิว รักษาซิลิส บรรเทาโรคเก๊าท์ บรรเทาการอักเสบของลำไส้ใหญ่ ใบ สรรพคุณใช้พอกแก้คัน ใช้ภายในโดยนำมาต้มดื่มรักษาอาการอักเสบของลำไส้ใหญ่ รักษาซิฟิลิส แก้ไขข้ออักเสบ รักษาคางทูม รักษาสิว ดอก นำมาชงเป็นชา สรรพคุณแก้ไอ ผล สรรพคุณเจริญอาหาร บำรุงกระเพาะอาหาร ฝาดสมานและลดไข้ แก้เสมหะเหนียว ฟอกโลหิต ยาบำรุงแก้ปวดมดลูก แก้ไอ บรรเทาโรดริดสีดวงทวาร แก้ลักปิดลักเปิด

สถานที่พบ

ส่วนป่าวิทยาลัย