ไม้ล้มลุก | Sugar cane

First slide
QR-CODE

ชื่อวิทยาศาสตร์

Saccharum officinarum L.

ชื่อสามัญ

Sugar cane

ชื่ออื่น

อ้อยขม อ้อยดำ

วงค์ หมวดหมู่

GRAMINEAE

ประเภทพันธ์ไม้

ไม้ล้มลุก

ชนิดของลำต้น

ลำต้นเหนือดิน

สภาพทางนิเวศน์

การขยายพันธ์

ขยายพันธุ์ด้วยการใช้หน่อจากเหง้าหรือตัดลำต้นมาชำ ไม่นิยมขยายพันธุ์จากเมล็ด

การจัดเรียงตัวของใบ

เรียงเวียนสลับ

รูปร่างของใบ

รูปใบหอก

แบ่งชนิดของผล

ไม่มี

ประเภทของดอก

ช่อดอก

ประเภทของดอก

ช่อดอก

ประเภทของเปลือก

เปลือกไม้เรียบ

ลักษณะของใบ

เป็นใบเดี่ยว ลักษณะใบรูปใบหอกแคบ ๆ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบจะเป็นกาบหุ้มลำต้นติดแน่นอยู่บริเวณข้อแต่ละข้อ และออกสลับเวียนกันขึ้นไป เนื้อใบมีขนสาก ขอบใบจักถี่เป็นหนามคม เส้นกลางใบใหญ่ มีกระดูกก้านและห่อเป็นรูปรางน้ำ อ้อยแดงมีหลายพันธุ์ เช่น ชนิดใบเขียว กาบเขียวอ่อน ชนิดใบม่วงปลายมีสีเขียวอมม่วง กาบใบสีม่วงแดง และชนิดเปลือกต้นเหลืองอมแดงมีตาสีแดงเข้ม

ลักษณะของใบ

เป็นใบเดี่ยว ลักษณะใบรูปใบหอกแคบ ๆ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบจะเป็นกาบหุ้มลำต้นติดแน่นอยู่บริเวณข้อแต่ละข้อ และออกสลับเวียนกันขึ้นไป เนื้อใบมีขนสาก ขอบใบจักถี่เป็นหนามคม เส้นกลางใบใหญ่ มีกระดูกก้านและห่อเป็นรูปรางน้ำ อ้อยแดงมีหลายพันธุ์ เช่น ชนิดใบเขียว กาบเขียวอ่อน ชนิดใบม่วงปลายมีสีเขียวอมม่วง กาบใบสีม่วงแดง และชนิดเปลือกต้นเหลืองอมแดงมีตาสีแดงเข้ม

ลักษณะของผล

ไม่มี

ลักษณะของดอก

ออกดอกรวมกันเป็นช่อใหญ่ยาว ออกที่ปลายสุดของลำต้น ดอกมีสีขาว จะออกดอกเมื่อต้นแก่เต็มที่ ก้านช่อดอกไม่มีขน มีเมล็ดแหลมมาก รอบโคนเมล็ดจะมีปุยสีขาวเป็นมันหุ้มและปุยนี้จะช่วยพยุงให้เมล็ดปลิวไปได้ไกลๆ ออกดอกในฤดูหนาว

รายละเอียดของเปลือก

เปลือกสีแดงอมม่วง มีตาออกตามข้อ ลำต้นแข็งเป็นมัน เนื้ออ่อน ฉ่ำน้ำ เปลือกมีรสขม น้ำไม่ค่อยหวานแหลมเหมือนอ้อยธรรมดา มักมีรากอากาศอยู่ประปราย

ลักษณะของต้น

ลำต้นแข็งแรง ต้นมีลักษณะคล้ายต้นอ้อยทั่วไป แต่จะมีสีม่วงแดง ถึงดำ มีไขสีขาวปกคลุม ไม่แตกกิ่งก้าน ลำต้นกลมยาว เห็นข้อและปล้องชัดเจน แต่ละปล้องอาจยาวหรือสั้นก็ได้ ผิวเรียบ เปลือกสีแดงอมม่วง มีตาออกตามข้อ ลำต้นแข็งเป็นมัน เนื้ออ่อน ฉ่ำน้ำ เปลือกมีรสขม น้ำไม่ค่อยหวานแหลมเหมือนอ้อยธรรมดา มักมีรากอากาศอยู่ประปราย

ประโยชน์

เปลือกต้น แก้ตานขโมย แก้แผลเน่าเปื่อย ชานอ้อย แก้แผลเรื้อรัง และแก้ฝีอักเสบบวม ลำต้น แก้ร้อนใน ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ แก้หือดไอ แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ไข้สัมประชวน แก้ปัสสาวะพิการ ขับนิ่ว แก้ท้องผูก บำรุงกระเพาะอาหาร แก้ขัดเบา บำรุงธาตุ แก้สะอึก แก้ตัวร้อน และแก้พิษตานซาง

สถานที่พบ

ส่วนป่าวิทยาลัย