ไม้ล้มลุก | Gotu kola

First slide
QR-CODE

ชื่อวิทยาศาสตร์

Centella asiatica (L.) Urb.

ชื่อสามัญ

Gotu kola

ชื่ออื่น

ผักแว่น(ภาคใต้,ภาคตะวันออก,จันทบุรี) , ผักหนอก(เหนือ) , ปะหนะเอขาเด๊าะ(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) , เตียกำเช้าฮักคัก(จีน)

วงค์ หมวดหมู่

APIACEAE

ประเภทพันธ์ไม้

ไม้ล้มลุก

ชนิดของลำต้น

ลำต้นเหนือดิน

สภาพทางนิเวศน์

การขยายพันธ์

บัวบกสามารถขยายพันธุ์ได้ทั้งการใช้เมล็ดและลำต้น (ไหล) ซึ่งการใช้ไหลขยายพันธุ์นั้นเป็นวิธีที่ง่ายและรวดเร็วกว่าการใช้เมล็ด

การจัดเรียงตัวของใบ

เรียงเป็นวงรอบ

รูปร่างของใบ

รูปไต

แบ่งชนิดของผล

ผลเดี่ยว

ประเภทของดอก

ช่อดอก

ประเภทของดอก

ช่อดอก

ประเภทของเปลือก

ไม่มี

ลักษณะของใบ

ใบบัวบกออกเป็นใบเดี่ยว และออกเป็นกระจุกจำนวนหลายใบบริเวณข้อ แต่ละข้อมีใบ 2-10 ใบ ใบประกอบด้วยก้านใบที่แทงตั้งตรงจากข้อ ก้านใบสูงประมาณ 10-15 เซนติเมตร มีลักษณะทรงกลม สีเขียวอ่อน ถัดมาเป็นแผ่นใบที่เชื่อมติดกับก้านใบบริเวณตรงกลางของใบ ฐานใบโค้งเว้าเข้าหากัน แผ่นใบมีรูปทรงกลมหรือมีรูปร่างคล้ายไต ขอบใบหยัก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-4 เซนติเมตร แผ่นใบด้านใบเรียบ สีเขียวสด แผ่นใบด้านล่างมีขนสั้นๆปกคลุม และมีสีเขียวจางกว่าด้านบน ขอบใบหยักเป็นคลื่น

ลักษณะของใบ

ใบบัวบกออกเป็นใบเดี่ยว และออกเป็นกระจุกจำนวนหลายใบบริเวณข้อ แต่ละข้อมีใบ 2-10 ใบ ใบประกอบด้วยก้านใบที่แทงตั้งตรงจากข้อ ก้านใบสูงประมาณ 10-15 เซนติเมตร มีลักษณะทรงกลม สีเขียวอ่อน ถัดมาเป็นแผ่นใบที่เชื่อมติดกับก้านใบบริเวณตรงกลางของใบ ฐานใบโค้งเว้าเข้าหากัน แผ่นใบมีรูปทรงกลมหรือมีรูปร่างคล้ายไต ขอบใบหยัก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-4 เซนติเมตร แผ่นใบด้านใบเรียบ สีเขียวสด แผ่นใบด้านล่างมีขนสั้นๆปกคลุม และมีสีเขียวจางกว่าด้านบน ขอบใบหยักเป็นคลื่น

ลักษณะของผล

ผลมีขนาดเล็ก มีลักษณะกลมแบน ยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร เปลือกเมล็ดแข็ง มีสีเขียวหรือม่วงน้ำตาล

ลักษณะของดอก

ดอกบัวบกออกเป็นช่อที่ซอกใบของข้อ ช่อดอกมีรูปทรงช่อคล้ายร่ม อาจมีช่อเดี่ยวหรือมีประมาณ 2-5 ช่อ แต่ละช่อมีประมาณ 3-4 ดอก มีก้านช่อดอกยาวทรงกลม ขนาดเล็ก ประมาณ 0.5-5 เซนติเมตร ส่วนกลีบดอกมีสีขาว ตรงกลางมีเกสรตัวผู้ขนาดสั้น

รายละเอียดของเปลือก

ไม่มี

ลักษณะของต้น

บัวบกเป็นพืชล้มลุกอายุหลายปี มีลำต้นเป็นไหล(stolen) เลื้อยไปตามพื้นดินหรืออยู่ด้านล่างหน้าผิวดิน ไหลมีลักษณะทรงกลม ไหลอ่อนมีสีขาว ไหลแก่มีสีน้ำตาล ขนาดประมาณ 0.2-0.4 มิลลิเมตร ยาวได้มากกว่า 1 เมตร ไหลมีลักษณะเป็นข้อปล้อง บริเวณข้อเป็นจุดแทงออกของก้านใบ ส่วนด้านล่างของข้อมีรากแขนงแทงลึกลงดิน และแต่ละข้อแตกแขนงแยกไหลไปเรื่อยๆ ทำให้ต้นบัวบกขึ้นปกคลุมพื้นที่โดยรอบได้อย่างหนาทึบ

ประโยชน์

ใบสด ใช้เป็นยาภายนอกรักษาแผลเปื่อย แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก โดยใช้ใบสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำละเอียด คั้นเอาน้ำทาบริเวณแผลบ่อย ใช้กากพอกด้วยก็ได้ แผลจะสนิทและเกิดแผลเป็นชนิดนูน (keloid) น้อยลง สารที่ออกฤทธิ์คือ กรด madecassic, กรด asiatic และ asiaticoside ซึ่งช่วยสมานแผลและเร่งการสร้างเนื้อเยื่อ ระงับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนองและลดการอักเสบ มีรายงานการค้นพบฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา อันเป็นสาเหตุของโรคกลากปัจจุบันมีการพัฒนายาเตรียมชนิดครีมให้ทารักษาแผลอักเสบจากการผ่าตัด น้ำต้มใบสดดื่มลดไข้ รักษาโรคปากเปื่อย ปากเหม็น เจ็บคอ ร้อนใน กระหายน้ำ ขับปัสสาวะ แก้ท้องเสีย

สถานที่พบ

ส่วนป่าวิทยาลัย