ไม้เลื้อย | Climbingllang-llang / Gara-Wek

First slide
QR-CODE

ชื่อวิทยาศาสตร์

Artabotrys siamensis Mig.

ชื่อสามัญ

Climbingllang-llang / Gara-Wek

ชื่ออื่น

กระดังงาป่า/กระดังงัว/กระดังงาเถา/หนามควายนอน/กระดังงาจีน (ภาคกลาง)/สะบันงาจีน (ภาคเหนือ)

วงค์ หมวดหมู่

ANNONACEAE

ประเภทพันธ์ไม้

ไม้เลื้อย

ชนิดของลำต้น

ลำต้นเหนือดิน

สภาพทางนิเวศน์

การขยายพันธ์

กิ่งตอน/เมล็ด

การจัดเรียงตัวของใบ

เรียงสลับ

รูปร่างของใบ

รูปรี

แบ่งชนิดของผล

ผลกลุ่ม

ประเภทของดอก

ดอกสมบูรณ์เพศ

ประเภทของดอก

ดอกสมบูรณ์เพศ

ประเภทของเปลือก

เปลือกไม้เรียบ

ลักษณะของใบ

เป็นพุ่มหนาแน่นมาก เป็นพืชใบเดี่ยวออกใบสลับกันตามข้อต้นใบเป็นรูปขอบขนาน หรือมนรี ขนาดใหญ่ ยาวประมาณ 15 - 18 เซนติเมตร กว้าง 5 - 10 เซนติเมตร ทั้งโคนใบและปลายใบจะแหลมมีก้านใบสั้น เป็นคลื่นเล็กน้อย ขอบใบเรียบไม่มีจัก หน้าใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ท้องใบสีจางกว่า และมีขนบ้างตามเส้นกลางใบ ยอดอ่อนมีขน

ลักษณะของใบ

เป็นพุ่มหนาแน่นมาก เป็นพืชใบเดี่ยวออกใบสลับกันตามข้อต้นใบเป็นรูปขอบขนาน หรือมนรี ขนาดใหญ่ ยาวประมาณ 15 - 18 เซนติเมตร กว้าง 5 - 10 เซนติเมตร ทั้งโคนใบและปลายใบจะแหลมมีก้านใบสั้น เป็นคลื่นเล็กน้อย ขอบใบเรียบไม่มีจัก หน้าใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ท้องใบสีจางกว่า และมีขนบ้างตามเส้นกลางใบ ยอดอ่อนมีขน

ลักษณะของผล

ติดเป็นกลุ่ม 4 ถึง 20 ผล เปลือกสีเขียว เมื่อแก่เป็นสีเหลือง ในแต่ละผลมี 2 เมล็ด การขยายพันธุ์ นิยมปลูกจากกิ่งตอน เพราะโตเร็วและไม่กลายพันธุ์ แต่การปลูกด้วยเมล็ดจะได้ปริมาณมาก แข็งแรงทนทานกว่าและอาจได้พันธุ์ใหม่ๆ ที่แปลกไปกว่าเดิมได้

ลักษณะของดอก

ออกตรงโคนใบ เป็นดอกเดี่ยวตรงโคนก้านดอกจะมีมือเกาะ ดอกเมื่อแรกออกเป็นสีเขียว แล้วจะค่อย ๆเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ในหนึ่งดอกจะมี กลีบสองชั้นๆ ละ 3 กลีบ และมีกลีบเลี้ยง 3 กลีบ ดอกมีขนาดเล็ก หนาและแข็ง เป็นมัน ทรงกลีบแบนป่องกลาง โคนกลีบเว้าปลายค่อนข้างแหลม มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ภายในดอกเป็นจำนวนมาก ดอกจะมีกลิ่นหอมจัดในเวลาเย็นถึงค่ำ

รายละเอียดของเปลือก

ผิวเรียบสีเทาจนถึงดำ โดยเฉพาะต้นที่มีอายุมากจะมีลำต้นสีดำ และมีปุ่มนูนสลับกันตามความสูงของลำต้น

ลักษณะของต้น

กระดังงา/การเวก เป็นไม้เลื้อยเนื้อแข็งที่มีเถาขนาดใหญ่ และมีอายุยืนนานหลายปี ลำต้นมีผิวเรียบสีเทาจนถึงดำ โดยเฉพาะต้นที่มีอายุมากจะมีลำต้นสีดำ และมีปุ่มนูนสลับกันตามความสูงของลำต้น โดยแตกกิ่งเลื้อยยาวจำนวนมากบริเวณส่วนปลายของต้น กิ่งอ่อนหรือยอดอ่อนมีสีเขียว ใบ

ประโยชน์

ใบการเวกใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ดอกการเวกปรุงเป็นยาหอม เมื่อลนไฟกลิ่นหอมรุนแรงยิ่งขึ้น แก้ลมวิงเวียน และใช้ทำบุหงาอบร่ำและน้ำหอม หรือทำน้ำปรุง น้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากดอกการเวกนั้นมีราคาสูงมาก ใช้เป็นหัวเชื้อ และส่วนผสมในการทำน้ำปรุง และน้ำหอมชนิดต่างๆได้ นิยมปลูกให้เลื้อยขึ้นคลุมเป็นซุ้มประตู ซุ้มระเบียง หรือซุ้มทางเท้า เคล็ดลับสำหรับการดมกลิ่นหอมจากดอกการเวกให้ได้ความหอมมากที่สุด คือเก็บดอกการเวกที่บานเต็มที่ แต่ยังไม่เป็นสีเหลือง เก็บในตอนเย็นแล้วห่อด้วยใบการเวก ทำเป็นรูปกรวยก้นปิด เปิดเป็นรูเล็กๆ เฉพาะตรงปลายแหลมของกรวย เอานิ้วอุดตรงรูไว้นานๆ แล้วเอาไปใกล้ๆจมูก เปิดนิ้วที่อุดรูไว้ รีบจ่อปลายกรวยเข้าในรูจมูกแล้วสูดแรงๆ จะรู้สึกถึงกลิ่นหอมของดอกการเวกเป็นอย่างมาก

สถานที่พบ

ส่วนป่าวิทยาลัย