ไม้ยืนต้น | ผักกระเหรี่ยง

First slide
QR-CODE

ชื่อวิทยาศาสตร์

Gnetum gnemon Linn. var. tenerum Markgr.

ชื่อสามัญ

ผักกระเหรี่ยง

ชื่ออื่น

ผักเขลียง ผักเปรียง กะเหรียง

วงค์ หมวดหมู่

ยังไม่จัดหมวด

ประเภทพันธ์ไม้

ไม้ยืนต้น

ชนิดของลำต้น

ลำต้นเหนือดิน

สภาพทางนิเวศน์

การขยายพันธ์

สามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธีคือ การเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และการใช้ต้นจากราก แขนง

การจัดเรียงตัวของใบ

เรียงสลับระนาบเดียว

รูปร่างของใบ

รูปไข่

แบ่งชนิดของผล

ผลกลุ่ม

ประเภทของดอก

ช่อดอก

ประเภทของดอก

ช่อดอก

ประเภทของเปลือก

เปลือกไม้เรียบ

ลักษณะของใบ

ใบผักเหมียงมีลักษณะคล้ายยางพารา ใบออกมาจากปลายยอดของต้นและกิ่ง ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามกัน ใบเป็นรูปรีปลายใบเรียวแหลม มีขนาด กว้าง 4 ? 10 เซนติเมตร ยาว 10 ? 20 เซนติเมตร ก้านใบยาวประมาณ 1 ? 2 เซนติเมตร เนื้อใบบางแต่เหนียวคล้ายแผ่นหนังใบมีสีเขียวเป็นมัน แต่หากต้นอยู่ในที่โล่งสีของใบจะจางลงหรืออาจขาวทั้งหมด ยอดใบอ่อนมีรสชาติหวานมัน รับประทานได้ทั้งดิบและสุก

ลักษณะของใบ

ใบผักเหมียงมีลักษณะคล้ายยางพารา ใบออกมาจากปลายยอดของต้นและกิ่ง ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามกัน ใบเป็นรูปรีปลายใบเรียวแหลม มีขนาด กว้าง 4 ? 10 เซนติเมตร ยาว 10 ? 20 เซนติเมตร ก้านใบยาวประมาณ 1 ? 2 เซนติเมตร เนื้อใบบางแต่เหนียวคล้ายแผ่นหนังใบมีสีเขียวเป็นมัน แต่หากต้นอยู่ในที่โล่งสีของใบจะจางลงหรืออาจขาวทั้งหมด ยอดใบอ่อนมีรสชาติหวานมัน รับประทานได้ทั้งดิบและสุก

ลักษณะของผล

ผลจะมีลักษณะเป็นรูปกระสวย เปลือกกว้างประมาณ 1 ? 1.5 เซนติเมตร มีความยาว ประมาณ 2.5 ? 4 เซนติเมตร ผลอ่อนมีเปลือกสีเขียว เมื่อแก่จัดเปลือกและเนื้อจะมีสีเหลือง เนื้อมีรสหวาน ใน 1 ช่อจะมีผลประมาณ 10 ? 20 ผล ผลจะแก่จัดประมาณเดือนมีนาคม ? เมษายน

ลักษณะของดอก

ผักเหมียงมีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย โดยดอกตัวผู้และดอกตัวเมียจะออกต่างต้นกัน กล่าวคือหากต้นใดมีดอกตัวผู้จะไม่มีดอกตัวเมีย ดอกตัวผู้เป็นดอกขนาดเล็กออกเป็นช่อตาม ข้อของกิ่ง ช่อดอกยาวประมาณ 3 ? 4 เซนติเมตร ในแต่ละช่อมีปุ่มดอกขนาดเล็กเรียงกันเป็น ข้อๆ ประมาณ 5 ? 8 ข้อ กลีบดอกมีสีขาว ดอกตัวเมียเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีขนาดของดอก ใหญ่กว่าดอกตัวผู้ ดอกออกเป็นช่อตามข้อของกิ่ง ช่อดอกยาวประมาณ 5 ? 7 เซนติเมตร ใน แต่ละช่อมีปุ่มดอกเรียงเป็นข้อๆ ประมาณ 7 ? 10 ข้อ ทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมียจะเริ่มออก ดอกในช่วง เดือนพฤศจิกายน ? ธันวาคม ผลแก่สามารถเก็บไว้ขยายพันธุ์ได้ในช่วงเดือนมีนาคม ? เมษายน ผักเหมียงจะออกดอกเมื่อมีอายุประมาณ 5 ? 6 ปี

รายละเอียดของเปลือก

-

ลักษณะของต้น

ผักเหมียงเป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 2 ? 5 เมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นประมาณ 20 เซนติเมตร เนื้อไม้ค่อนข้างอ่อนสามารถโน้มลงได้โดยลำต้นไม้หัก ผิวเปลือกเรียบ เปลือกอ่อนมีสีเขียวเมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล

ประโยชน์

ใบผักเหมียงใช้รับประทานสดและประกอบเป็นอาหาร เช่น แกงเลียง ต้มกะทิ ใช้ห่อเมี่ยงคำ ผัดวุ้นเส้น แกงไตปลา และผัดผัก ในประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย นิยมนำเนื้อในเมล็ดของผักเหมียงมาทำข้าวเกรียบ สรรพคุณทางยา ใบ รับประทานเพื่อบำรุงเส้นเอ็น กระดูก สายตา และสามารถนำมาใช้ลอกฝ้าได้อีกด้วย

สถานที่พบ

ส่วนป่าวิทยาลัย