ไม้ยืนต้น | White Cheesewood

First slide
QR-CODE

ชื่อวิทยาศาสตร์

Alstonia scholaris (L.) R. Br.

ชื่อสามัญ

White Cheesewood

ชื่ออื่น

ตีนเป็ด หัสบัน สัตบรรน จะบัน บะซา

วงค์ หมวดหมู่

APOCYNACEAE

ประเภทพันธ์ไม้

ไม้ยืนต้น

ชนิดของลำต้น

ลำต้นเหนือดิน

สภาพทางนิเวศน์

การขยายพันธ์

การขยายพันธุ์โดยอาศัยเมล็ด วิธีการเพาะเมล็ดเป็นที่นิยมโดยทั่วไป เพราะทำได้ง่ายประหยัดและได้ผลดีนอกจากการผลิตกล้าโดยการเพาะเมล็ดด้วย การผลิตกล้าไม้ตีนเป็ดยังสามารถ ทำได้โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจากการทดลองของอาจารย์ปราณี, ฮัมเมอร์ลิงค์ (หัวหน้าโครงการพัฒนาการผลิตกล้าไม้โตเร็วและปลอดโรคเพื่อการปลูกป่าและการอุตสาหกรรม ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) ปรากฏว่าตีนเป็ดจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมีการเจริญ เติบโตดี

การจัดเรียงตัวของใบ

เรียงสลับระนาบเดียว

รูปร่างของใบ

รูปไข่กลับ

แบ่งชนิดของผล

ผลเดี่ยว

ประเภทของดอก

ดอกสมบูรณ์

ประเภทของดอก

ดอกสมบูรณ์

ประเภทของเปลือก

เปลือกไม้เป็นเกล็ด

ลักษณะของใบ

ใบเดี่ยวเรียงกันเป็นวง 4 - 7 ใบ แผ่นใบรูปมนแกมรูปไข่กลับ ปลายแหลมเป็นติ่งเล็กน้อยโคนสอบ เข้าหากันเป็นรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ

ลักษณะของใบ

ใบเดี่ยวเรียงกันเป็นวง 4 - 7 ใบ แผ่นใบรูปมนแกมรูปไข่กลับ ปลายแหลมเป็นติ่งเล็กน้อยโคนสอบ เข้าหากันเป็นรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ

ลักษณะของผล

เป็นฝักเรียว ยาว 10 - 20 เซ็นติเมตร เมล็ดแบบทรงบรรทัดแคบ ๆ ยาว ประมาณ 7มิลลิเมตร มีขนยาวอ่อนนุ่มปุกปุยติดอยู่เป็นกระจุกที่ปลายทั้งสองข้าง

ลักษณะของดอก

ดอกเล็ก สีเขียวอมเหลือง หรืออมขาวออกเป็นกลุ่มในช่อซึ่งแยกกิ่งก้าน ออกจากจุดเดียวกันตามปลายกิ่ง

รายละเอียดของเปลือก

แตกเป็นสะเก็ด สีเทาอ่อนหรือเทาอมเหลือง ค่อนข้างหนา

ลักษณะของต้น

ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15 - 35 เมตร โคนต้นมักเป็นพูพอน

ประโยชน์

ในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใช้เปลือกต้นพญาสัตบรรณรักษาโรคบิด ลำไส้ติดเชื้อ และมาลาเรีย ใบใช้ในการรักษาโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง ในประเทศอินเดียมีการนำส่วนต่างๆ ของต้น พญาสัตบรรณมาใช้เป็นพืชสมุนไพรเช่นใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาโรคมาลาเรียในชื่อ Ayush-64 ซึ่งมีขายตามท้องตลาด นำยางสีขาวและใบรักษาแผล แผลเปื่อย และอาการปวดข้อ นอกจากนี้ ต้นพญาสัตบรรณยังเป็นแหล่งของสารอัลคาลอยด์ที่สาคัญ ในบอร์เนียว นำเนื้อไม้ไปทำทุ่นของแหและอวน พญาสัตบรรณเป็นพืชที่มีฤทธิ์ทางอัลลีโลพาที สารสกัดจากใบสามารถยับยั้งการเจริญของคะน้าได้ สารสกัดจากเปลือกลำต้นสามารถยับยั้งการเจริญของข้าว ข้าวโพด คะน้า ถั่วเขียวผิวดำ ถั่วเขียวผิวมันได้

สถานที่พบ

ส่วนป่าวิทยาลัย